โครงการวิจัย บูรณาการนวัตกรรมการวิจัยส้มโอเพื่อสังคมและเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐม

คณะผู้วิจัย

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเดช นิลพันธุ์ หัวหน้าโครงการ
  2. รองศาสตราจารย์ชลีรัตน์ พยอมแย้ม ที่ปรึกษา
  3. รองศาสตราจารย์โสรัจ กายบริบูรณ์ รองหัวหน้าโครงการ
  4. รองศาสตราจารย์ ดร.พงษ์นาถ นาถวรานันต์ รองหัวหน้าโครงการ
  5. อาจารย์ ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย รองหัวหน้าโครงการ

ความสำคัญ / ความเป็นมา

           แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555–2559) ได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผน จึงเป็นการนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่พร้อมทั้งเร่งสร้างภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน และสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างเป็นธรรมรวมทั้งสร้างโอกาส ทางเศรษฐกิจด้วยฐานความรู้เทคโนโลยีนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

               “ส้มโอหวาน ข้าวสารขาว ลูกสาวงาม ข้าวหลามหวานมัน สนามจันทร์งามล้น พุทธมณฑลคู่ธานี  พระปฐมเจดีย์เสียดฟ้า สวยงามตาแม่น้ำท่าจีน”

ข้อความด้านบนคือ คำขวัญของจังหวัดนครปฐม การใช้ส้มโอขึ้นต้นคำขวัญของจังหวัดแสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครปฐมของส้มโอ นอกจากนั้นส้มโอยังเป็นสิ่งบ่งชี้ ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดนครปฐม ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ส้มโอนครชัยศรี ทั้งนี้ส้มโอนครชัยศรีเป็นที่รู้จักกันดีถึงชื่อเสียงด้านรสชาติ และคุณภาพที่จัดว่าเป็นแหล่งส้มโอที่อร่อยที่สุดในโลก ดังนั้นส้มโอจึงเป็นไม้ผลเศรษฐกิจของจังหวัดนครปฐม ที่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีรสชาติดีและเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วไป นอกจากนี้ยังส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ สามารถนำเงินเข้าประเทศได้ปีละหลายร้อยล้านบาท           อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่ปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐมลดน้อยลงเป็นอย่างมากสืบเนื่องมาจากปัญหาหลายประการโดยเฉพาะในปี 2554 ที่เกิดอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้พื้นที่ผลิตส้มโอเกิดความเสียหายอย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกส้มโอเขตอำเภอนครชัยศรี และอำเภอสามพราน ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม นอกจากนั้นการลดลงของพื้นที่ปลูกส้มโอยังเกิดจากการขาดแคลนเกษตรกรรุ่นใหม่การขยายพื้นที่เมืองสภาพแวดล้อมเสื่อมลงเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีทางการเกษตรมากเกินไปติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น สภาพดินเสื่อมโทรมเป็นต้น และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น นอกจากนั้นเยาวชนรุ่นใหม่ในพื้นที่ที่มีการปลูกส้มโอยังขาดการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญา และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับส้มโอเป็นผลให้เยาวชนรุ่นใหม่ไม่สามารถสืบต่อองค์ความรู้เหล่านั้นได้ ประกอบกับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอไม่ต้องการให้ลูกหลานทำสวนส้มโอ เพราะคิดว่าเป็นอาชีพที่เหนื่อย           จากประสบการณ์ของเกษตรกรเอง ทำให้ขาดเกษตรกรรุ่นใหม่ที่จะมาสืบต่อความรู้ และการทำสวนส้มโอซึ่งเป็นวิถีชีวิต             ของชาวลุ่มแม่น้ำนครชัยศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐมมีพันธกิจ             เพื่อพัฒนาท้องถิ่นเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นปัญหาทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาเหล่านี้เพื่อพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐม จึงจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการ

งานวิจัยจากหลากหลายมิติ และศึกษาองค์ความรู้จากหลายๆ ด้านเพื่อสร้างนวัตกรรมงานวิจัยนำมาใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเชิงบูรณาการ เช่น การศึกษาถึงองค์ประกอบที่สำคัญของส้มโอ ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ความเชื่อของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ เพื่อนำมาเชื่อมโยงในการสร้าง และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของส้มโอเพื่อการเรียนในโรงเรียนเป็นการปลูกฝังความรู้เกี่ยวกับส้มโอให้เยาวชน การจัดระบบโลจิสติกส์ของธุรกิจส้มโอ การบริหารจัดการปุ๋ยเพื่อการลดต้นทุนการผลิตส้มโอตลอดจนการแปรรูปส้มโอ และการพัฒนาตำรับอาหารกับสวนส้มโอในพื้นที่จังหวัดนครปฐมเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นต้น

               ด้านทุนเดิมของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกับหน่วยงาน/ภาคีในพื้นที่ และจุดแข็งของมหาวิทยาลัยที่เชื่อมโยงกับการตอบโจทย์ของพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้จัดทำ “โครงการ นครปฐม นครแห่งความผาสุกทุกชุมชนท้องถิ่น” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมกับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 20 แห่ง โดยได้งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน 21 ล้านบาท มีเป้าหมายเชิงปริมาณคือ จำนวนตำบลในจังหวัดนครปฐมที่มีศักยภาพ 20 ตำบล และมีตำบลศูนย์เรียนรู้จำนวน 3 ตำบล ของการพัฒนาพื้นที่ โดยใช้ทุนการเทียบเคียงศักยภาพของตำบล และการพัฒนาต่อยอดข้อมูลจนเกิดเป็นระบบย่อยสู่การบูรณาการตำบล  สุขภาวะ พร้อมผู้นำในตำบลเพิ่มมากขึ้น และสามารถถ่ายเทความรู้ ประสบการณ์ ความคิดซึ่งกันและกัน                  ส่งผลต่อการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่องเชิงคุณภาพ คือ เกิดชุดความรู้โจทย์วิจัยกิจกรรมพื้นที่สร้างสรรค์ สนับสนุนให้เกิดนโยบายสาธารณะหรือกลไกในการจัดการในตำบล โดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ควบคู่การบูรณาการกับการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องพัฒนาระบบ และกลไกที่จำเป็นในการทำงานจนเกิดการบูรณาการระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดยชุมชนส่งผลให้เกิดผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยที่อุดมปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีทุนเดิมเกี่ยวกับพื้นที่การปลูกส้มโอ เนื่องจากจังหวัดนครปฐมเป็นพื้นที่ ที่มีการปลูกส้มโอที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับการผลิตส้มโอซึ่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สกว. อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปีจึงเป็นการง่ายในการต่อยอด เพื่อการทำงานวิจัยอีกทั้งพื้นที่การปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐม ทั้งพื้นที่อำเภอสามพราน และนครชัยศรี ยังมีการปลูกอยู่ในตำบลที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายการวิจัยเชิงพื้นที่กับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมอยู่แล้วจึงมีความสะดวกในการประสานงานเชิงพื้นที่ เพื่อการทำงานวิจัยร่วมกัน

               ด้านสถานการณ์ระบบการบริหารจัดการงานวิจัย และงานวิชาการของมหาวิทยาลัยระบบบริหารจัดการงานวิจัย และงานวิชาการของมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนโดยระบบกลไกผ่าน กองทุนเพื่อการวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กองทุนนี้บริหารโดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อการวิจัยซึ่งประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยระดับชาติ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ และรองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานให้ทุนวิจัยระดับชาติ มีภารกิจหน้าที่หลักในด้านการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการงานวิจัยกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพบริหารจัดการเงินกองทุน และการวิจัย                ของมหาวิทยาลัย การขับเคลื่อนงานของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการวิจัยจะขับเคลื่อนผ่านคณะอนุกรรมการ 4 คณะ คือ คณะอนุกรรมการบริหารจัดการงานวิจัย คณะอนุกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอโครงการวิจัย คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์ และคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพย์สิน ทางปัญญา โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเป็นฝ่ายเลขาในการดำเนินงาน การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมจะเป็นการรวมศูนย์ (Centralization) โดยบริหารจัดการตาม 4 ยุทธศาสตร์หลักคือ

(1) งานวิจัยเพื่อพัฒนาภูมิปัญญา หรือแก้โจทย์ปัญหาของท้องถิ่น      

(2) งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน

(3) งานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม และเทคโนโลยี

(4) งานประชุมวิชาการ/ตีพิมพ์เผยแพร่ บริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่นในแต่ละยุทธศาสตร์จะมีหน่วยงานมารองรับ ดังแสดงในภาพที่ 1 การบริหารจัดการงานวิจัยโดยคณะกรรมการกองทุนวิจัยใน 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2552 ถึง 2557) ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีโดยพิจารณาได้จาก มีทุนวิจัยรวมในปีที่ 1 ประมาณ 1 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นในปีที่ 5 เป็น 44,092,258 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2557) ผลงานการตีพิมพ์การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และการนำผลงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ ได้รับการประเมินโดยสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ในระดับ “ดีมาก” ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีในฐานะ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มีวิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” มหาวิทยาลัย มีความต้องการที่จะขับเคลื่อนงานวิจัยด้านการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม โดยบูรณาการแบบองค์รวมจากสรรพกำลังของทุกคณะ โดยซึ่งมหาวิทยาลัยเห็นว่า การที่ สกว. จะมาร่วมให้ความช่วยเหลือขับเคลื่อนระบบบริหารจัดการงานวิจัยท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยจะเป็นสิ่งที่ดีมากเพราะ สกว. เป็นองค์กรที่มีประสบการณ์ในการบริหารจัดการงานวิจัยชั้นแนวหน้าของประเทศไทย ในการนี้มหาวิทยาลัยเสนอระบบบริหารจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นขึ้นมาใหม่ ดังภาพที่ 1 นอกจากนั้นศูนย์วิจัยเดิมเป็นศูนย์วิจัยที่เน้นเชิงประเด็น เช่น ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาพืชเกษตรหลักนครปฐม เป็นศูนย์วิจัยที่เน้นการวิจัย และถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงเดี่ยว คือ เน้นด้านการเกษตร ทำให้ไม่สามารถเติมเต็มในทุกมิติเหมือนรูปแบบระบบบริหารจัดการใหม่ซึ่งจะไม่ซ้อนทับ กับรูปแบบเดิมซึ่งศูนย์วิจัยที่พัฒนาเชิงพื้นที่ทั้ง 5 ศูนย์วิจัยประกอบด้วยเป็นศูนย์วิจัยที่จะบูรณาการงานวิจัยเกี่ยวกับส้มโอในทุกมิติ และจะเป็นศูนย์ที่เชื่อมโยง                   กับเกษตรกร และประชาชนโดยการ

(1) กำหนดโจทย์การวิจัยจากความต้องการของประชาชน

(2) วิจัยร่วมกับเกษตรกร          

(3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีในพื้นที่นอกจากนั้นศูนย์นี้จะเป็นแหล่งในการพัฒนาบุคลากร ด้านงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ และนวัตกรรมสู่สังคม

วัตถุประสงค์ของโครงกา

  1. เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการวิจัยเกี่ยวกับส้มโอเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอจังหวัดนครปฐม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น

2. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในการบริหารจัดการงานวิจัยทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยให้เกิดประโยชน์กับการเรียนการสอน และบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*