โครงการวิจัย รูปแบบการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับส้มโอ จังหวัดนครปฐม

คณะผู้วิจัย
วิศิษฐ์ ฤทธิบุญไชย
พงษ์สันติ์ ตันหยง
ธงชัย พงษ์สิทธิกาญจนา
ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล
นรุตม์ โตโพธิ์ไทย

งานวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ สองประการคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการประกอบ กิจการ ส้มโอ และการจัดการความรู้ของส้มโอนครปฐม 2) เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการความรู้ แบบมีส่วนร่วมของส้มโอนครปฐม โดย การวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่าง จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ปลูกส้มโอ ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 20 คน 2) กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับส้มโอจังหวัด นครปฐม จำนวน 10 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเจาะจง


ผลการศึกษาพบว่า
สภาพปัญหาของการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมมีดังนี้ (1) วิธีการปลูกส้มโอได้มาจากการ สืบทอดของบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่มีการพัฒนาให้ดีขึ้น (2) การพัฒนาและการเรียนรู้คิดค้นวิธี เป็นแบบการลองผิดลองถูก และ (3) การแลกเปลี่ยนความรู้มีในวงแคบ เฉพาะในหมู่เครือญาติ เท่านั้น

แนวทางการสร้างรูปแบบมีดังนี้ (1) ต้องกระจายความรู้ และประสบการณ์ให้เผยแพร่ไปทั้ง กลุ่มเกษตรกร และกลุ่มผู้มีได้เสีย เพื่อผลประโยชน์ที่ยั่งยืนต่อวงการเพาะปลูกส้มโอในจังหวัด นครปฐมต่อไป (2) การกระจายความรู้ต้องแบบแผนในการบันทึกให้เป็นลายลักษณ์ เพื่อปรับเปลี่ยน ความรู้ที่ฝังลึกให้กลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งคืนกลับไปสู่ผู้ที่สนใจให้เป็นความรู้คงอยู่สืบไป

คำสำคัญ การจัดการความรู้ การมีส่วนร่วม ส้มโอ

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*